top of page
วิเคราะห์ข่าวเรื่อง “ ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต ทำเด็กซึมเศร้าอยู่ในโลกความฝัน”

วิเคราะห์ข่าวเรื่อง “ ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต ทำเด็กซึมเศร้าอยู่ในโลกความฝัน”

เมื่อ อังคาร, 04/06/2013 - 19:16 | แก้ไขล่าสุด เสาร์, 11/01/2014 - 14:42| โดย  snk02983

“ ภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต ทำเด็กซึมเศร้าอยู่ในโลกความฝัน”

                                                  

 

 

       เปิดเผยผลการศึกษาผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทยชี้ชัด เด็กและเยาวชน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการบันเทิงมากที่สุด ขณะที่ผลกระทบด้านสังคม ไม่ค่อยรู้เรื่องภายนอก ไม่คุยกับคนรอบข้าง ซึมเศร้าอยู่แต่ในโลกความฝันของตัวเอง

      วันที่14 พฤษภาคม น.ส.ประพิมพ์พรรณ สุวรรณกูฏ นักพัฒนาสังคม สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพพิทักษ์เด็กและเยาวชน กล่าวว่าจากการศึกษา เรื่องผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทย กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยศึกษาพฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตของเด็ก และเยาวชนทั้ง ด้านการศึกษา ด้านบันเทิง ด้านลบ และด้านธุระ/ ซื้อขาย รวมถึงความสัมพันธ์ของผล ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต กับกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,584 คน

       ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตบันเทิงมาก ที่สุด ได้แก่ รับข่าวสาร พูดคุยติดต่อเพื่อน ดูหนังฟังเพลง เสนอความคิดเห็นในกระทู้ต่าง ๆ รองลงมาด้านการศึกษา ได้แก่ เพื่อส่งงานให้อาจารย์ทางอีเมล์ หาข้อมูลในการเรียนหรือเตรียมตัวสอบ ค้นคว้าผ่านห้องสมุดดิจิตอล และแลกเปลี่ยนข่าวสารการเรียนกับเพื่อน ด้านธุระ/ซื้อขาย ได้แก่ ติดต่อธุระ ซื้อขายสินค้า หาข้อมูลสินค้า ทำธุระทางการเงิน จ่ายค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ หาข้อมูลเพื่อการทำงานด้านลบได้แก่ ดูเรื่องต่างๆ ที่ตอบสนองอารมณ์ทางเพศ ดูคลิปวิดีโอหรือภาพโป๊เปลือย ค้นข้อมูลที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นของต้องห้าม นินทาหรือด่าว่ากัน สื่อสารกับเพื่อนในเรื่องที่ไม่อยากให้ผู้ใหญ่รู้ ใช้เพื่อการพนัน เล่นเกมออนไลน์เพื่อการเอาชนะและความสะใจผลจากการใช้อินเทอร์เน็ตมีผลต่อ สุขภาพจิตทางบวกของเด็กและเยาวชนมากที่สุด ได้แก่ ทำให้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เข้าใจและพอใจกับชีวิตของตนเอง มีความสุขกับสิ่งที่ทำแต่ละวัน สามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่นในการทำภารกิจต่าง ๆ รู้สึกสนุก เพลิดเพลินใจ สุขภาพกาย ในทางลบ ได้แก่ ทำให้อ่อนล้าสายตา สายตาสั้นลง ตาลาย เมื่อยแขน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดก้นกบ หลัง ไหล่ กล้ามเนื้อมือและนิ้ว ร่างกายเมื่อยล้า อ่อนเพลีย ลืมเวลาทานอาหารจนปวดท้อง เพลินจนไม่ได้เข้าห้องน้ำ ทำให้มีผลต่อระบบขับถ่าย สุขภาพจิตในทางลบ ได้แก่ ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้กับการดำเนินชีวิต

น.ส.ประพิมพ์พรรณ กล่าวว่า การใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กและเยาวชนยังเกิดผลกระทบด้านสังคม คือ ถูกหลอก เกิดอาชญากรรมเจอคนที่พูดไม่ดีรู้สึกแย่ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อยากไปเจอเพื่อน ๆ น้อยลง รู้จักแต่คนที่เล่นเกมที่รุนแรง อยู่ในโลกความฝัน ทำให้ไม่ค่อยรู้เรื่องภายนอก ไม่ค่อยได้คุยกับพ่อแม่ ไม่คุยกับคนรอบข้าง บางทีทำให้ทะเลาะกันเพราะมีความคิดเห็นต่างกัน อย่างไรก็ตามเด็กและเยาวชนยังแสดงความเห็นในการจัดการเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ควรมีกฎหมายสั่งปิด ปราบปราม เพื่อการสร้างสื่อที่ดีต่อสังคม ออกมาตรการควบคุมอายุผู้เข้าชม รณรงค์ให้ผู้คนรู้จักละอายใจที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เหล่านั้น หรือมีขั้นตอนการลงโทษ คอยตรวจสอบ เว็บไซต์ต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลมากขึ้น เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและการละเมิดโดยการนำภาพคนอื่นมาตัดต่อให้เกิดความ เสียหาย ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานด้วยไม่ใช่ปล่อยให้เล่นเพลิน

      สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเตอร์เน็ตของ เด็กและเยาวชนไทย ซึ่งพบว่าเนื้อหาที่มีอยู่มากกว่า 1,000 ล้านเว็บไซต์ทั่วโลกมีทั้งส่วนที่เป็นประโยชน์และที่ก่อให้เกิดโทษ จึงควรมีมาตรการที่เข้มงวด มีประสิทธิภาพในการจัดการและป้องกันปัญหาที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะด้านเนื้อหา หรือรูปภาพต่าง ๆ โดยการออกข้อบังคับเพื่อปราบปรามสิ่งยั่วยุที่อาจจะมีอยู่มากเกินไปในสังคม ไทย

แหล่งอ้างอิง: 

 http://news.mthai.com/general-news/30127.html

วิเคราะห์ข่าว

  

ปัญหา : เด็กและเยาวชนใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการบันเทิงมากที่สุด ขณะที่ผลกระทบด้านสังคม ไม่ค่อยรู้เรื่องภายนอก ไม่คุยกับคนรอบข้าง ซึมเศร้าอยู่แต่ในโลกความฝันของตัวเอง

สาเหตุของปัญหา: เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมติดสื่อทางอินเทอร์เน็ตทั้งในด้านบวกและลบ

ผลกระทบด้านต่าง ๆ: ไม่สนใจบุคคลรอบข้างอยากเจอเพื่อนน้อยลง เหมือนกับว่าอยู่แต่โลกส่วนตัว โลกแห่งความฝัน

วิธีการแก้ไข:ควรลดการใช้อินเทอร์เน็ต ทำความเข้าใจกับอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น

แหล่งเรียนรู้ที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้คือ

         1. ให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนโดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ

และข่าวชุมชน ทำแผ่นป้าย แผ้นพับ ตลอดจนทุกเว็บไต์ต้องมีคำเตือนและให้ความรู้เด็กและเยาวชน และโรงเรียนจัดเปิดอบรมให้ความรู้

         2. พ่อแม่ควรหากิจกรรมที่ทำร่วมกันนอกบ้านโดยการพาลูกไปเดินเที่ยวในที่มีธรรมชาติเช่นไปเที่ยวทะเล  เที่ยวสวนสัตว์  ไปตั้งแคมป์บนเขา หากิจกรรมที่เหมาะกับเด็กและช่วงวัย   

3.ถ้าเป็นการป้องกันภัยจากคนและข้อมูลในอินเตอร์เน็ต วิธีที่ดีที่สุด คือ พ่อแม่ต้องสอนลูกไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับคนที่เราไม่รู้จัก, ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตัวเองและบุคคลในครอบครัวให้คนที่เราไม่รู้จัก หรือไม่สนิท,ใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลและติดต่อสื่อสารกัน,ไม่ออกไปพบคนที่เรารู้จักทางอินเตอร์เน็ต,ระมัดระวังในการซื้อสินค้าทาง Internet,ต้องรีบปรึกษาผู้ใหญ่เมื่อถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต,

ไม่เผลอบันทึก username และ password ในขณะที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ,

ไม่ควรบันทึกภาพ วีดีโอ หรือเสียงที่ไม่เหมาะสมบนคอมพิวเตอร์หรือมือถือ

(ภาพหรือคลิปวีดีโอของท่านอาจจะหลุด)

        4. การป้องกันและแก้ไข     ภัยจากโปรแกรมประสงค์ร้าย โดยการใช้ซอฟท์แวร์ Antivirus ตั้ง System restore เข้าเว็บต่างๆ อย่างระมัดระวัง ควรติดตั้งAntivirus และหมั่น Scan หรือศึกษาข้อมูล Virus ตัวใหม่ๆ อยู่เสมอๆ ทั้งหมดนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆ คนโดยเฉพาะผู้ปกครองและบุตรหลานของท่าน ที่ท่านจะมีวิธีป้องกันภัยต่างๆ ให้กับตัวท่านเองและบุตรหลานของท่าน หวังว่าต่อไปนี้คงจะคอยระมัดระวังภัยที่เกิดขึ้นจากอินเตอร์เน็ต และรู้จักการป้องกันภัยจากมัน เพราะภัยจากอินเตอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องยากที่จะป้องกันมัน

 

การนำไปใช้ 

 

ข้อเสนอแนะจะใช้ “อินเทอร์เน็ต” อย่างไรให้ปลอดภัย

1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่นชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน

2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น

3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้ จริงๆ

4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ

5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ

6. ควรบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย

หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อสร้างความเสียหาย

7. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์

8. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับเว็บต่างๆ เพราะเราอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของ

ผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองอยู่  

9. ถ้าคนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำธุรกรรมผ่านทางเว็บ ให้คิดเสมอว่ารายได้ที่สูงเกินความจริง อาจตกอยู่

กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย

10. ไม่ควรเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง

                               .................................

ขอขอบคุณ เนื้อหาข่าวจาก  ไทยรัฐ  

เมื่อ อังคาร, 04/06/2013 - 19:16  

แหล่งข้อมูล  http://www.thaigoodview.com/node/156633 

bottom of page